ทีฆนขสูตร — ทรงแสดงธรรมแก่ท่านทีฆนขปริพาชก เรื่อง ทิฐิ กาย เวทนา และการหลุดพ้น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

. ทีฆนขสูตร


สารบัญ : วิญญูชนละทิฐิอย่างไร / การพิจารณากาย / การพิจารณาเวทนา / การหลุดพ้น / ท่านพระสารีบุตรบรรลุธรรม


(เรื่องทีฆนขปริพาชก)

[๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา นั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน

ทีฆนขปริพาชก “ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น” {หมายความว่าหากคำที่พระศาสดาได้ทรงตรัสมานั้น ควรแก่ท่านทีฆนขะแล้ว ท่านทีฆนขะก็เห็นว่าเป็นความเห็นที่ดี หรือคำที่ดี คือยอมรับตามด้วย}

พระผู้มีพระภาค อัคคิเวสสนะ ชนในโลก ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้{คือแม้คนที่กล่าวตามความเห็นผู้อื่นว่าดีนั้น ความเห็นตัวก็ยังละไม่ได้ แถมยังไปยึดเอาความเห็นผู้อื่นอีก คนที่ยึด กับความเห็นต่างๆเหล่านี้ มีจำนวนมากกว่า คนที่ละความเห็นต่างๆได้}

อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น ละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อย คือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้{คือแม้คนที่กล่าวตามความเห็นผู้อื่นว่าดีนั้น มีน้อยคน ที่จะสามารถละความเห็นของตัวเองได้}

(ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท)

[๒๗๐] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา นั้น ใกล้ข้างกิเลส อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น”

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า”

พระผู้มีพระภาค อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา นั้น ส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลส อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น

ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น”

{ทรงแสดงว่าวิญญูชนละทิฐิอย่างไร}

[๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า {คือฝังแน่นอย่างยิ่ง ปักใจ ไม่เปลี่ยนไปอย่างอื่นเลย ไม่พิจารณาอย่างอื่นเลย} เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์ พวกนี้ คืสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑

เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี

วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตน ดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑

เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี

วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตน ดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้”

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑

เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี

วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตน ดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้”

{ทรงสอนให้พิจารณากาย}

[๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มี รูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง {หรือเรียกว่า มหาภูตรูป ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม} มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา

ท่านควรพิจารณาโดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตน

เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้

(เวทนา ๓)

{ทรงสอนให้พิจารณาเวทนา}

[๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนา อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ {คือรู้สึกว่า ไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นกลางๆ}

อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น

ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น

ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น

อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา

แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา

แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา

{การหลุดพ้น}

อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา

เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาท แก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ

{ท่านพระสารีบุตรบรรลุอรหัตผล}

[๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์{เบื้องหลัง}พระผู้มีพระภาค ได้มีความดำริว่า “ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่าพระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย” เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

{ท่านทีฆนขได้ดวงตาเห็นธรรม}

ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนขปริพาชกว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา”

(ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก)

[๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่าผู้มีจักษุ{จัก}เห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

ดังนี้แล

(จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔)


{หมายเหตุ – ท่านพระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ตามแสดงในพระสูตรนี้ ซึ่งเป็นเวลาร่วม ๒ สัปดาห์ หลังจากได้นำบริวารพร้อมกับท่านพระโมคคัลลานะ ๒๕๐ คน มาจากสำนักของท่านสัญชัย ส่วนท่านทีฆนขปริพาชกนั้น เป็นหลานของท่านพระสารีบุตรที่ได้มาเยี่ยมอาของท่านหลังจากบวชแล้วเป็นครั้งแรกนั่นเอง

การแก้ไข – ๑ เพิ่มเครื่องหมาย () ครอบคำที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อหัวข้อ หรือการจบพระสูตร /๒ ใส่เครื่องหมาย {} ครอบคำที่ผู้เรียบเรียงเพิ่มเติมทั้งหมด /๓ เปลี่ยนตัวเลขจากเดิมที่เป็นตัวหนังสือ เช่นคำว่า สอง เป็นตัวเลขแทน คือ ๒ เป็นต้น /๔ ใส่คำแปลในคำบาลีที่สำคัญๆเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนขึ้น โดยขีดเส้นใต้แบบเป็นจุดๆใต้คำศัพท์และคำแปลนั้นๆ

คำสืบค้น : ทิฐิ กาย รูป มหาภูตรูป มหาภูต เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน อนัตตา ท่านพระสารีบุตร ทีฆนขปริพาชก หลุดพ้น }

[ไปบนสุด]

มหาตัณหาสังขยสูตร — วิญญาณย่อมแล่นไป เป็นมิจฉาทิฐิ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์
. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

หมวด : ทิฐิ / ศีล / ปฏิจจสมุปบาท / อินทรีย์สังวร / นิวรณ์ ๕ / สมาธิ / สมุทัย / นิโรธ

บทสำคัญ : ทิฐิลามก / มิจฉาทิฐิเกี่ยวกับวิญญาณ / เข้าใจผิดว่าวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด / วิญญาณไม่ได้ท่องเที่ยวไป / ว่าด้วยวิญญาณ / ปฏิจจสมุปบาท / ว่าด้วยสัตว์ / ศีล / สมาธิ / น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย

สารบัญความเกิดแห่งวิญญาณ / ขันธ์ ๕ / อาหาร ๔ อย่าง / ปฏิจจสมุปบาท / การพิจารณา สัตว์ เรา กับอดีต อนาคต ปัจจุบัน / ทารกเกิดเพราะปัจจัย ๓ ประการ / ความกำหนัดในรูปเสียงกลิ่นรส ฯลฯ / ศีลขันธ์ / อินทรีย์สังวร / สติสัมปชัญญะ / นิวรณ์ ๕ / ฌาน / ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น


[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น”

ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น” จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า “ดูกร ท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ”

เธอตอบว่า “ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง”

ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า “ดูกร ท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

ดูกร ท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี”

ภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตรอันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า “ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ

[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น

ครั้งนั้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า

ดูกร ท่านสาติ ได้ยินว่าท่านมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ

เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า

ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง

ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า

ดูกร ท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

ดูกร ท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้น รุนแรง กล่าวอยู่ว่า

ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค”

[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า “ดูกร ภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกร ท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน”

ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า “ดูกร ท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน”

สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูกร สาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ”

สาติภิกษุทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูกร สาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร”

สาติภิกษุทูลว่า “สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว ในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร โมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ความเกิดแห่งวิญญาณ }

“ดูกร โมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ดูกร โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูกร โมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน”

(ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น)

[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะเธอว่า “ดูกร โมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้”

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยาย เป็นเอนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ก็แต่สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ)

[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณ อาศัยจักษุ {ตา} และรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยโสต {หู} และเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยฆานะ {จมูก} และกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยชิวหา {ลิ้น} และรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ {สัมผัสทางกาย} ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยมนะ {ใจ} และธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ

เปรียบเหมือนไฟ อาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ

ไฟ อาศัยไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้

ไฟ อาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า

ไฟ อาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า

ไฟ อาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย

ไฟ อาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ

ไฟ อาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ

ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆเกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ว่าด้วย ขันธ์ ๕ }

[๔๔๕] พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อม เห็น ขันธปัญจก {ขันธ์ ๕} ที่เกิดแล้ว หรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาคเธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้น เกิด เพราะอาหาร หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้นหรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนี้ มี หรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจก เกิด เพราะอาหาร นั้น หรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้น หรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดแล้ว ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก เกิด เพราะอาหาร นั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดแล้ว แม้ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจก เกิด เพราะอาหาร นั้น แม้ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้น แม้ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดแล้ว ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก เกิดเพราะอาหาร นั้น ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค หากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐินี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบด้วยทุ่น อันเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก มิใช่แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่น อันเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ปัจจัยแห่งความเกิด)

[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง

อาหาร ๔ อย่าง เป็นไฉน

อาหาร ๔ อย่าง คือ

กวฬิงการาหาร อันหยาบ หรือละเอียด (เป็นที่ ๑)

ผัสสาหาร เป็นที่ ๒

มโนสัญเจตนาหาร เป็นที่ ๓

วิญญาณาหาร เป็นที่ ๔

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

เวทนา มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

สฬายตนะ มีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนามรูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

วิญญาณ มีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ปฏิจจสมุปบาท }

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย

ด้วยประการฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้”

 

[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นแล ภพจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั้นแล ตัณหาจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

[๔๔๘] พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น

คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี

ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

(ปัจจัยแห่งความดับ)

เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้”

 

[๔๔๙] พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

[๔๕๐] พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

คือ

เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ว่าด้วยธรรมคุณ)

{ การพิจารณา เกี่ยวกับ สัตว์ เรา เทียบกับ อดีต อนาคต ปัจจุบัน }

[๔๕๑] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องต้นว่า

ในอดีตกาล เราได้มีแล้ว หรือว่าไม่ได้มีแล้ว

เราได้เป็นอะไรแล้ว

หรือว่าเราได้เป็นแล้วอย่างไร

หรือเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไร

ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องปลายว่า

ในอนาคตกาล เราจักมี หรือว่าจักไม่มี

เราจักเป็นอะไร

หรือว่าเราจักเป็นอย่างไร

หรือเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไร

ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ปรารภถึงปัจจุบันกาล ในบัดนี้ ยังสงสัยขันธ์เป็นภายในว่า

เราย่อมมี หรือว่าเราย่อมไม่มี

เราย่อมเป็นอะไร

หรือว่าเราย่อมเป็นอย่างไร

สัตว์นี้มาแล้วจากไหน

สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ไหน

ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา พวกเราต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยความเคารพต่อพระศาสดาเท่านั้น ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” { คือไม่ใช่กล่าวเพียงเพราะความเคารพในพระศาสดา }

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวว่า พระสมณะตรัสอย่างนี้ พระสมณะทั้งหลายและพวกเรา ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดาอื่น ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงเชื่อถือสมาทานวัตรความตื่นเพราะทิฏฐิ และทิฏฐาทิมงคล ของพวกสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้ เห็น ทราบเองแล้ว พวกเธอพึงกล่าวถึงสิ่งนั้น มิใช่หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” { คือรู้เห็นเอง จึงกล่าวอย่างนั้น }

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธออันเรานำเข้าไปแล้ว ด้วยธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน

คำที่เรากล่าวว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ให้ผลไม่มีกาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(เหตุแห่งการเกิดในครรภ์)

[๔๕๒] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิดแห่งทารกก็มี

ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน

ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด () มารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย () มารดามีระดูด้วย () ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารก จึงมี

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้อง เก้า () เดือนบ้าง สิบ (๑๐) เดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตน ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก”

[๔๕๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิต ในอริยวินัย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่นสำหรับกุมาร คือ ไถเล็ก ตีไม้หึ่ง หกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

{ กำหนัดใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และอารมณ์ }

กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุ {ตา} แล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นได้ยินเสียงด้วยโสต {หู} แล้ว ย่อมกำหนัดในเสียงที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในเสียงที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นดมกลิ่นด้วยฆานะ {จมูก} แล้ว ย่อมกำหนัดในกลิ่นที่น่ารัก {หอม} ย่อมขัดเคืองในกลิ่นที่น่าชัง {เหม็น} ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมกำหนัดในรสที่น่ารัก {อร่อย} ย่อมขัดเคืองในรสที่น่าชัง {ไม่อร่อย} ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะ {สัมผัสทางกาย} ด้วยกายแล้ว ย่อมกำหนัดในโผฏฐัพพะที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในโผฏฐัพพะที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว {คือใจรับรู้อารมณ์นั้นๆแล้ว} ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ว่าด้วยพุทธคุณ)

[๔๕๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

ตถาคตนั้น ทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธาในตถาคต เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้ว ย่อมตระหนักว่าฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต”

(ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ)

{ ศีลขันธ์ }

[๔๕๕] เมื่อเขาบวชแล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย

() ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่

() ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่

() ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน

() ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

() ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

() ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง อันคนส่วนมากใคร่ พอใจ

() ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร

() เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม

() ฉันหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล

(๑๐) เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล

(๑๑) เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว

(๑๒) เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

(๑๓) เว้นขาดจากการรับทองและเงิน

(๑๔) เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ

(๑๕) เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ

(๑๖) เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี

(๑๗) เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส

(๑๘) เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน

(๑๙) เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ

(๒๐) เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร

(๒๑) เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา

(๒๒) เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้

(๒๓) เว้นขาดจากการซื้อและการขาย

(๒๔) เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด

(๒๕) เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง

(๒๖) เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก

(๒๗) ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปทางทิศาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆก็มีแต่ปีกของของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ อินทรีย์สังวร }

“ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ภิกษุนั้นได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์

ภิกษุนั้นดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์

ภิกษุนั้นลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์

ภิกษุนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษกายิทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายิทรีย์

ภิกษุนั้นรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์

ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ สติสัมปชัญญะ }

“ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง”


(การชำระจิต)

{ นิวรณ์ ๕ }

[๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วย ศีลขันธ์ อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

() เธอละความเพ่งเล็ง {ความเพ่งเล็งมักแปลว่า ความโลภ แต่อีกคำหนึ่งคือ กามฉันทะ คือความกำหนัดในสุขทางกาย เพราะ กามฉันทะ มักเป็นข้อที่ ๑ ใน นิวรณ์ ๕ เสมอ} ในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้

() เธอละความประทุษร้าย คือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาทได้

() เธอละถีนมิทธะ {ความง่วงเหงาหาวนอน} ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้

() เธอละอุทธัจจกุกกุจจะ {ความฟุ้งซ่าน} ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้

() ละวิจิกิจฉา {ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม} ได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิกิจฉาได้”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ฌาน }

[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว

() สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

() บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

() บรรลุตติยฌา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเรียกเธอได้ว่า เป็นผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่

() บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ในก่อนๆได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ความดับอกุศลธรรม)

{ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น }

[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในเสียงที่น่ารัก {เพราะ} ย่อมไม่ขัดเคืองในเสียงที่น่าชัง {ไม่เพราะ} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในกลิ่นที่น่ารัก {หอม} ย่อมไม่ขัดเคืองในกลิ่นที่น่าชัง {เหม็น} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรสที่น่ารัก {อร่อย} ย่อมไม่ขัดเคืองในรสที่น่าชัง {ไม่อร่อย} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะที่น่ารัก {สัมผัสทางกายอันเป็นสุข หรือที่ชอบ} ย่อมไม่ขัดเคืองในโผฏฐัพพะที่น่าชัง {สัมผัสทางกายที่ไม่ชอบ หรือเป็นทุกข์} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นรู้แจ้งธรรมารมณ์ {การรับรู้อารมณ์ของใจ หรือความนึกคิดต่างๆ} ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนั้น

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้”

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล

จบ มหาตัณหาสังขยสูตร ที่ ๘

[ไปบนสุด]

อนุราธสูตร — ขันธ์ ๕ ไม่ใช่สัตว์ หรือบุคคล

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
. อนุราธสูตร
ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

หมวด: ทิฐิ

บทสำคัญ: ขันธ์ ๕ / รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ / ทุกข์ ความดับทุกข์ / ทิฐิเกี่ยวกับสัตว์เบื้องหน้าเมื่อตายแล้ว / สัตว์ บุคคล


[๒๐๘] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ก็สมัยนั้นท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พากันเข้าไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงได้กล่าวกะท่านอนุราธะว่า “ดูกร ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ ในฐานะ ๔ นี้ คือสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีก ๑

ย่อมไม่เกิดอีก ๑

ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑

ย่อมไม่เกิดอีกอีกก็หามิได้ ๑”

เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า “ดูกร ท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ๑”

เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า “ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลา ไม่ฉลาด” ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวรุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะหลีกไป

[๒๐๙] เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิดว่า “ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไรจึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้”

ลำดับนั้น ท่านพระอนุราธะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นอันมาก พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับข้าพระองค์ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว กล่าวกะข้าพระองค์ว่า

ดูกร ท่านพระอนุราธะ พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติในฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ๑

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกะพวกเขาว่า

ดูกร ท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ นอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑ {พึงระวังไว้ว่า วาทะของท่านพระอนุราธะนี้ ผิด ไม่ควรจำ}

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า

ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชไม่นาน ก็หรือว่าเป็นเถระแต่โง่เขลา ไม่ฉลาด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่า เป็นผู้ใหม่ เป็นผู้เขลาแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์เกิดความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้”

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูกร อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

รูป เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

ท่านพระอนุราธะ “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า”

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา”

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

เพราะเหตุนี้แล อนุราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขารทั้งหลาย ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี”

 

[๒๑๑] ดูกร อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นรูป ว่าเป็นสัตว์ บุคคล หรือ

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นสัตว์ บุคคล หรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า” { ขันธ์ ๕ ไม่เป็นสัตว์/บุคคล }

 

[๒๑๒] ดูกร อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล ในรูปหรือ” { สัตว์/บุคคล ไม่อยู่ในขันธ์ ๕ ไม่อยู่นอกขันธ์ ๕ }

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล อื่นจากรูปหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

 

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล ในเวทนาหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล อื่นจากเวทนาหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

 

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล ในสัญญาหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล อื่นจากสัญญาหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

 

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล ในสังขารหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล อื่นจากสังขารหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

 

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล ในวิญญาณหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล อื่นจากวิญญาณหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

 

[๒๑๓] ดูกร อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า{ สัตว์/บุคคล มีขันธ์ ๕ ก็ไม่ใช่ }

[๒๑๔] ดูกร อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล นี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ”

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า{ สัตว์/บุคคล ไม่มีขันธ์ ๕ ก็ไม่ใช่ }

 

ดูกร อนุราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์ บุคคล ในขันธ์ ๕ เหล่านี้ ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑”

ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า”

ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์

 

จบ สูตรที่ ๔.

ข้อศึกษา: สัตว์หรือบุคคล ไม่มีอะไรๆเกี่ยวข้องกับขันธ์ทั้ง ๕ เลย เพราะฉะนั้น การที่ปุถุชนคนทั่วไปไปเข้าใจผิดคิดว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้เป็นกายตน เป็นชีวิตตน แล้วตายไปเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ในวินัยพระอริยะนั้น เป็นความเข้าใจผิด ไม่ถูกต้อง เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะในวินัยพระอริยะนั้น เห็นว่า ที่คนทั้งหลายเรียกว่าตน หรือชีวิต นั้น เป็นเพียง ธาตุ คือ ขันธ์ทั้ง ๕ มาประชุมกัน เท่านั้น ไม่ใช่เป็นสัตว์หรือบุคคล ที่แท้จริง พระธรรมในศาสนานี้ จึงมุ่งให้รู้ว่า สัตว์/บุคคล ไม่ใช่ ขันธ์ ๕ 

ชาลิยสูตร — ต่อคำถามว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙
. ชาลิยสูตร
เรื่องของมัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก

หมวด : ทิฐิ / โลก / ศีล / วิชา / ฤทธิ์

บท : ชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

สารบัญ : ศีล / สมาธิ / ฌานทั้ง ๔ / วิชา ๘

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตเมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล บรรพชิต ๒ รูป คือปริพาชกชื่อมัณฑิยะ รูปหนึ่ง เป็นปริพาชกซึ่งเป็นศิษย์ของอุปัชญาย์ผู้ถือบาตรไม้ ชื่อชาลิยะ รูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ท่านพระโคดมผู้มีอายุ ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ดูกร ผู้มีอายุ ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

บรรพชิต ๒ รูปนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า

ดูกร ผู้มีอายุ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม”

พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง”

คหบดี บุตรคหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่าฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต”

สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ

จุลศีล

ดูกร ผู้มีอายุ อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล”

() ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

() เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

() เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

() เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

() เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อให้คนในหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

() เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

() “เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

() เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม”

() เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล”

(๑๐) เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล”

(๑๑) เธอเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว”

(๑๒) เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่”

(๑๓) เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน”

(๑๔) เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ”

(๑๕) เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ”

(๑๖) เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี”

(๑๗) เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส”

(๑๘) เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ”

(๑๙) เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร”

(๒๐) เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและลา”

(๒๑) เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน”

(๒๒) เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้”

(๒๓) เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย”

(๒๔) เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด”

(๒๕) เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง”

(๒๖) เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

จบจุลศีล

มัชฌิมศีล

(๒๗) ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม เห็นปานนี้คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๒๘) ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เห็นปานนี้คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมของหอม สะสมเครื่องประเทืองผิว สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๒๙) ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๐) ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เห็นปานนี้คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายใจ เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๑) ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เห็นปานนี้คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสันฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๒) ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คืออบตัว ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๓) ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๔) ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เห็นปานนี้เช่น ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสียถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๕) ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เห็นปานนี้คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดีและกุมาร ว่าท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๖) ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

จบมัชฌิมศีล

มหาศีล

(๓๗) ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มครองบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๘) ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาสตรา ทายลักษณะศร ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๓๙) ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๔๐) ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้คือ พยากรณ์ว่าจักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๔๑) ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้คือ พยากรณ์ว่าจักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๔๒) ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

(๔๓) ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยาชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆเลย เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆเพราะราชศัตรูนั้น”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้นภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน”

ดูกร ผู้มีอายุ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล”

จบมหาศีล

รูปฌาน ๔

[๒๕๗] ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

ดูกร ผู้มีอายุ ข้อนั้นเรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ภิกษุนั้นบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ภิกษุนั้นมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ภิกษุใดรู้ อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ภิกษุนั้นบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่”

[๒๕๘] ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ดังนี้”


วิชชา ๘
๑ วิปัสสนาญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้ อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพ อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

๒ มโนมยิทธิญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรรูปอันเกิดแต่ใจ {มโนมยิทธิญาณ} คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

๓ อิทธิวิธญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการคือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

๔ ทิพยโสตญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

๕ เจโตปริยญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใด รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพ อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

๖ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือ ที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

๗ จุตูปปาตญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย {จุตูปปาตญาณ} เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็น มิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

๘ อาสวักขยญาณ

[๒๕๙] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือจะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรที่จะกล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง”

ดูกร ผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ดังนี้”

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว บรรพชิต ๒ รูปนั้นยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

จบชาลิยสูตร ที่ ๗