นตุมหากังสูตร — กายนี้ไม่ใช่ของเรา และไม่ใช่ของคนอื่น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

. นตุมหากํสูตร


[๑๔๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ เป็นที่ตั้งของเวทนา

[๑๔๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในเรื่องกายนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย ซึ่งปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

ด้วยประการดังนี้ คือ

 

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

 

ก็เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จึงดับหมดสิ้น

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้”

จบ สูตรที่ ๗


ข้อศึกษาอย่างย่อ : กายนี้ไม่ใช่ของเรา กายเกิดจากกรรมเก่า กายเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา การเกิดการดับของกายนั้นเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งจุดเริ่มต้นคือมีอวิชา (ความโง่ หรือความไม่รู้) สิ่งต่างๆจึงเกิดขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่ และการดับของกาย ก็ดับเพราะอวิชาดับ (อวิชาดับ เรียกว่า มีปัญญา) เพราะมีปัญญา อวิชาจึงดับ เมื่ออวิชาดับ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับตามกันไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับอริยสาวกนั้นก็พ้นทุกข์ ออกจากโลกแห่งความทุกข์นี้ได้ หรือเข้าสู่นิพพานนั่นเอง

ศัพท์เบื้องต้น : กรรมเก่า คือสิ่งที่กระทำผ่านไปแล้ว กรรมใหม่คือสิ่งที่กำลังกระทำ อีกนัยหนึ่ง กรรมเก่าคือสิ่งที่กระทำในชาติก่อนๆมา กรรมใหม่ คือสิ่งที่กระทำในชาตินี้ /

เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ /

ปฏิจจสมุปบาท คือ คำสอนที่แสดงถึงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาได้อย่างไร หรือเกิดจากอะไร มีอะไรเป็นเหตุ รวมถึงว่าสิ่งทั้งปวงดับไปได้อย่างไร /

ภพ คือ ในโลกธาตุนี้ (โลกธาตุ หมายถึงจักรวาล อันไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ใช่เฉพาะแผ่นดินที่เราเหยียบอยู่นี้) มีภพอยู่ หลายภพ แต่ละภพเป็นที่อยู่ของสัตว์แต่ละอย่าง เช่น สัตว์นรก เดรัจฉาน เปรต มนุษย์ เทวดา เป็นต้น /

ชาติ คือการกำเนิด เรียกว่า ได้เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ตัวนั้นๆ ในภพนั้นแล้ว เช่น เกิดมาในภพมนุษย์แล้ว เป็นตัวๆแล้ว อย่างนี้เรียกว่า ชาติ

หมายเหตุ คำศัพท์ในที่นี้จะไม่แสดงครบทั้งหมด เพราะจะทำให้เนื้อความยืดยาวเกินไป ผู้เรียนธรรมอาจต้องศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะศัพท์ในปฏิจจสมุปบาท

tag : #พุทธศาสนา #พระธรรม #กายนี้ไม่ใช่ของเรา #กายนี้เป็นของกรรมเก่า #กายเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา #ปฏิจจสมุปบาท

มหาตัณหาสังขยสูตร — วิญญาณย่อมแล่นไป เป็นมิจฉาทิฐิ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์
. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

หมวด : ทิฐิ / ศีล / ปฏิจจสมุปบาท / อินทรีย์สังวร / นิวรณ์ ๕ / สมาธิ / สมุทัย / นิโรธ

บทสำคัญ : ทิฐิลามก / มิจฉาทิฐิเกี่ยวกับวิญญาณ / เข้าใจผิดว่าวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด / วิญญาณไม่ได้ท่องเที่ยวไป / ว่าด้วยวิญญาณ / ปฏิจจสมุปบาท / ว่าด้วยสัตว์ / ศีล / สมาธิ / น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย

สารบัญความเกิดแห่งวิญญาณ / ขันธ์ ๕ / อาหาร ๔ อย่าง / ปฏิจจสมุปบาท / การพิจารณา สัตว์ เรา กับอดีต อนาคต ปัจจุบัน / ทารกเกิดเพราะปัจจัย ๓ ประการ / ความกำหนัดในรูปเสียงกลิ่นรส ฯลฯ / ศีลขันธ์ / อินทรีย์สังวร / สติสัมปชัญญะ / นิวรณ์ ๕ / ฌาน / ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น


[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น”

ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น” จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า “ดูกร ท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ”

เธอตอบว่า “ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง”

ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า “ดูกร ท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

ดูกร ท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี”

ภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตรอันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า “ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ

[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น

ครั้งนั้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า

ดูกร ท่านสาติ ได้ยินว่าท่านมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ

เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า

ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง

ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า

ดูกร ท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

ดูกร ท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้น รุนแรง กล่าวอยู่ว่า

ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค”

[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า “ดูกร ภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกร ท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน”

ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า “ดูกร ท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน”

สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูกร สาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ”

สาติภิกษุทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูกร สาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร”

สาติภิกษุทูลว่า “สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว ในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร โมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ความเกิดแห่งวิญญาณ }

“ดูกร โมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ดูกร โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูกร โมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน”

(ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น)

[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะเธอว่า “ดูกร โมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้”

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยาย เป็นเอนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ก็แต่สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ)

[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณ อาศัยจักษุ {ตา} และรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยโสต {หู} และเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยฆานะ {จมูก} และกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยชิวหา {ลิ้น} และรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ {สัมผัสทางกาย} ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยมนะ {ใจ} และธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ

เปรียบเหมือนไฟ อาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ

ไฟ อาศัยไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้

ไฟ อาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า

ไฟ อาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า

ไฟ อาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย

ไฟ อาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ

ไฟ อาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ

ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆเกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ

วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ว่าด้วย ขันธ์ ๕ }

[๔๔๕] พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อม เห็น ขันธปัญจก {ขันธ์ ๕} ที่เกิดแล้ว หรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาคเธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้น เกิด เพราะอาหาร หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้นหรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนี้ มี หรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจก เกิด เพราะอาหาร นั้น หรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้น หรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดแล้ว ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก เกิด เพราะอาหาร นั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดแล้ว แม้ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจก เกิด เพราะอาหาร นั้น แม้ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร นั้น แม้ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดแล้ว ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก เกิดเพราะอาหาร นั้น ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค หากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐินี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบด้วยทุ่น อันเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก มิใช่แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่น อันเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ”

ภิกษุเหล่านั้น “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ปัจจัยแห่งความเกิด)

[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง

อาหาร ๔ อย่าง เป็นไฉน

อาหาร ๔ อย่าง คือ

กวฬิงการาหาร อันหยาบ หรือละเอียด (เป็นที่ ๑)

ผัสสาหาร เป็นที่ ๒

มโนสัญเจตนาหาร เป็นที่ ๓

วิญญาณาหาร เป็นที่ ๔

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

เวทนา มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

สฬายตนะ มีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนามรูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

วิญญาณ มีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ปฏิจจสมุปบาท }

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย

ด้วยประการฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้”

 

[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นแล ภพจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั้นแล ตัณหาจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

[๔๔๘] พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น

คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี

ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

(ปัจจัยแห่งความดับ)

เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้”

 

[๔๔๙] พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

พระผู้มีพระภาค “ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ

ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ หรือเป็นอย่างไร”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล”

 

[๔๕๐] พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

คือ

เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ว่าด้วยธรรมคุณ)

{ การพิจารณา เกี่ยวกับ สัตว์ เรา เทียบกับ อดีต อนาคต ปัจจุบัน }

[๔๕๑] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องต้นว่า

ในอดีตกาล เราได้มีแล้ว หรือว่าไม่ได้มีแล้ว

เราได้เป็นอะไรแล้ว

หรือว่าเราได้เป็นแล้วอย่างไร

หรือเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไร

ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องปลายว่า

ในอนาคตกาล เราจักมี หรือว่าจักไม่มี

เราจักเป็นอะไร

หรือว่าเราจักเป็นอย่างไร

หรือเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไร

ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ปรารภถึงปัจจุบันกาล ในบัดนี้ ยังสงสัยขันธ์เป็นภายในว่า

เราย่อมมี หรือว่าเราย่อมไม่มี

เราย่อมเป็นอะไร

หรือว่าเราย่อมเป็นอย่างไร

สัตว์นี้มาแล้วจากไหน

สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ไหน

ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา พวกเราต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยความเคารพต่อพระศาสดาเท่านั้น ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” { คือไม่ใช่กล่าวเพียงเพราะความเคารพในพระศาสดา }

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวว่า พระสมณะตรัสอย่างนี้ พระสมณะทั้งหลายและพวกเรา ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดาอื่น ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงเชื่อถือสมาทานวัตรความตื่นเพราะทิฏฐิ และทิฏฐาทิมงคล ของพวกสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก ดังนี้บ้างหรือไม่”

ภิกษุเหล่านั้น “ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้ เห็น ทราบเองแล้ว พวกเธอพึงกล่าวถึงสิ่งนั้น มิใช่หรือ”

ภิกษุเหล่านั้น “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” { คือรู้เห็นเอง จึงกล่าวอย่างนั้น }

 

พระผู้มีพระภาค “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธออันเรานำเข้าไปแล้ว ด้วยธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน

คำที่เรากล่าวว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ให้ผลไม่มีกาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(เหตุแห่งการเกิดในครรภ์)

[๔๕๒] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิดแห่งทารกก็มี

ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน

ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด () มารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย () มารดามีระดูด้วย () ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารก จึงมี

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้อง เก้า () เดือนบ้าง สิบ (๑๐) เดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตน ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก”

[๔๕๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิต ในอริยวินัย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่นสำหรับกุมาร คือ ไถเล็ก ตีไม้หึ่ง หกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

{ กำหนัดใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และอารมณ์ }

กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุ {ตา} แล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นได้ยินเสียงด้วยโสต {หู} แล้ว ย่อมกำหนัดในเสียงที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในเสียงที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นดมกลิ่นด้วยฆานะ {จมูก} แล้ว ย่อมกำหนัดในกลิ่นที่น่ารัก {หอม} ย่อมขัดเคืองในกลิ่นที่น่าชัง {เหม็น} ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมกำหนัดในรสที่น่ารัก {อร่อย} ย่อมขัดเคืองในรสที่น่าชัง {ไม่อร่อย} ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะ {สัมผัสทางกาย} ด้วยกายแล้ว ย่อมกำหนัดในโผฏฐัพพะที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในโผฏฐัพพะที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

กุมารนั้นรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว {คือใจรับรู้อารมณ์นั้นๆแล้ว} ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ว่าด้วยพุทธคุณ)

[๔๕๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

ตถาคตนั้น ทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธาในตถาคต เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้ว ย่อมตระหนักว่าฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต”

(ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ)

{ ศีลขันธ์ }

[๔๕๕] เมื่อเขาบวชแล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย

() ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่

() ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่

() ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน

() ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

() ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

() ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง อันคนส่วนมากใคร่ พอใจ

() ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร

() เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม

() ฉันหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล

(๑๐) เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล

(๑๑) เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว

(๑๒) เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

(๑๓) เว้นขาดจากการรับทองและเงิน

(๑๔) เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ

(๑๕) เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ

(๑๖) เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี

(๑๗) เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส

(๑๘) เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน

(๑๙) เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ

(๒๐) เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร

(๒๑) เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา

(๒๒) เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้

(๒๓) เว้นขาดจากการซื้อและการขาย

(๒๔) เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด

(๒๕) เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง

(๒๖) เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก

(๒๗) ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปทางทิศาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆก็มีแต่ปีกของของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ อินทรีย์สังวร }

“ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ภิกษุนั้นได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์

ภิกษุนั้นดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์

ภิกษุนั้นลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์

ภิกษุนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษกายิทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายิทรีย์

ภิกษุนั้นรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์

ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ สติสัมปชัญญะ }

“ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง”


(การชำระจิต)

{ นิวรณ์ ๕ }

[๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วย ศีลขันธ์ อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

() เธอละความเพ่งเล็ง {ความเพ่งเล็งมักแปลว่า ความโลภ แต่อีกคำหนึ่งคือ กามฉันทะ คือความกำหนัดในสุขทางกาย เพราะ กามฉันทะ มักเป็นข้อที่ ๑ ใน นิวรณ์ ๕ เสมอ} ในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้

() เธอละความประทุษร้าย คือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาทได้

() เธอละถีนมิทธะ {ความง่วงเหงาหาวนอน} ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้

() เธอละอุทธัจจกุกกุจจะ {ความฟุ้งซ่าน} ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้

() ละวิจิกิจฉา {ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม} ได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิกิจฉาได้”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


{ ฌาน }

[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว

() สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

() บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

() บรรลุตติยฌา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเรียกเธอได้ว่า เป็นผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่

() บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ในก่อนๆได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


(ความดับอกุศลธรรม)

{ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น }

[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในเสียงที่น่ารัก {เพราะ} ย่อมไม่ขัดเคืองในเสียงที่น่าชัง {ไม่เพราะ} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในกลิ่นที่น่ารัก {หอม} ย่อมไม่ขัดเคืองในกลิ่นที่น่าชัง {เหม็น} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรสที่น่ารัก {อร่อย} ย่อมไม่ขัดเคืองในรสที่น่าชัง {ไม่อร่อย} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะที่น่ารัก {สัมผัสทางกายอันเป็นสุข หรือที่ชอบ} ย่อมไม่ขัดเคืองในโผฏฐัพพะที่น่าชัง {สัมผัสทางกายที่ไม่ชอบ หรือเป็นทุกข์} เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย ก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

 

ภิกษุนั้นรู้แจ้งธรรมารมณ์ {การรับรู้อารมณ์ของใจ หรือความนึกคิดต่างๆ} ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป

เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ

เพราะภพดับ ชาติก็ดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ของภิกษุนั้นก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนั้น

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้”

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล

จบ มหาตัณหาสังขยสูตร ที่ ๘

[ไปบนสุด]

โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาท มนสิการ


[ไปล่างสุด]

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔
มหาวรรค ภาค ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาขันธกะ
โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาท มนสิการ

สารบัญ :  ๑. ปฏิจจสมุปบาท / ๒. อชปาลนิโครธกถา / ๓. มุจจลินทกถา / ๔. ราชายตนกถา / ๕. อนัจฉริยคาถา / ๖. พรหมยาจนกถา / ๗. พุทธปริวิตกกถา / ๘. อุปกาชีวก / ๙. พระปัญจวัคคีย์ / ๑๐. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร / ๑๑. ปัญจวัคคีย์บรรพชา / ๑๒. อนัตตลักขณสูตร / ๑๓. ยสกุลบุตร / ๑๔. มารดาและภรรยาเก่าพระยสได้ธรรมจักษุ / ๑๕. สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของพระยสออกบรรพชา / ๑๖. สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คนของพระยสออกบรรพชา / ๑๗. พ้นจากบ่วง / ๑๘. มาร

 

[] โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้ {ปฐมยาม คือ ยามต้น ตีเป็นเวลาสมัยนี้ก็ประมาณ ๖ โมงเย็น ถึง ๔ ทุ่ม}

(ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม)

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่น ย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้”

(ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม)

อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละ ดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรค คือ วิราคะ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่น ย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้”

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่าดังนี้

(พุทธอุทานคาถาที่ ๑)

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ”

[] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลมและปฏิโลม ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้

(ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม)

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่น ย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้”

(ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม)

อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรค คือ วิราคะ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่น ย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้”

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่าดังนี้

(พุทธอุทานคาถาที่ ๒)

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้น แห่งปัจจัยทั้งหลาย”

[] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีว่าดังนี้

(ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม)

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่น ย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้”

(ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม)

อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละ ดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือ วิราคะ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่น ย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้”

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่าดังนี้

(พุทธอุทานคาถาที่ ๓)

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น”

โพธิกถา จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


อชปาลนิโครธกถา

เรื่องพราหมณ์หุหุกชาติ

[] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้โพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ตลอด ๗ วัน

ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติคนหนึ่ง ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พราหมณ์นั้นได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่ผู้มีพระภาคว่า

“ท่านพระโคดม บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ก็แลธรรมเหล่าไหนทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์”

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่าดังนี้

(พุทธอุทานคาถา)

พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่ตวาดผู้อื่นว่า หึหึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีตนสำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวท มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว พราหมณ์นั้นไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น ในอารมณ์ไหนๆในโลก ควรกล่าวถ้อยคำว่า ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม”

อชปาลนิโครธกถา จบ 

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


มุจจลินทกถา

เรื่องมุจจลินทนาคราช

[] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธเข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ ตลอด ๗ วัน

ครั้งนั้นเมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน ครั้งนั้น มุจจลินทนาคราช ออกจากที่อยู่ของตน ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียร สถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า “ความหนาว ความร้อน อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค”

ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราชรู้ว่าอากาศปลอดโปร่งปราศจากฝนแล้ว จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาค จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ ได้ยืนประคองอัญชลีถวายมนัสการพระผู้มีพระภาคทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่าดังนี้

(พุทธอุทานคาถา)

ความสงัด เป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่

ความไม่พยาบาท คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก

ความปราศจากกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก

การกำจัดอัสมิมานะเสียได้ นั่นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง”

มุจจลินทกถา จบ 

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


ราชายตนกถา

เรื่องตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า

[] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จจากควงไม้มุจจลินท์เข้าไปยังต้นไม้ราชายตนะ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้ราชายตนะตลอด ๗ วัน

ก็สมัยนั้น พ่อค้าชื่อ ตปุสสะภัลลิกะ ๑ เดินทางไกลจากอุกกลชนบทถึงตำบลนั้น ครั้งนั้นเป็นเทพยดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตปุสสะ ภัลลิกะ ๒ พ่อค้า ได้กล่าวคำนี้กะ ๒ พ่อค้านั้นว่า “ดูกร ท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้งสองจงไปบูชาพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยสัตตุผงและ สัตตุก้อน การบูชาของท่านทั้งสองนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน”

ครั้งนั้นพ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะ ถือสัตตุผงและสัตตุก้อนเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ถวายบังคม ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สองพ่อค้านั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับสัตตุผงสัตตุก้อนของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนาน”

ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงปริวิตกว่า พระตถาคตทั้งหลายไม่รับวัตถุด้วยมือ เราจะพึงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนด้วยอะไรหนอ ลำดับนั้นท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ทรงทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาคด้วยใจของตนแล้ว เสด็จมาจาก ๔ ทิศ ทรงนำบาตรที่สำเร็จด้วยศิลา ๔ ใบเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนด้วยบาตรนี้ พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคทรงใช้บาตรสำเร็จด้วยศิลาอันใหม่เอี่ยม รับสัตตุผงและสัตตุก้อนแล้วเสวย

ครั้งนั้นพ่อค้าตปุสสะและภัลลิกะได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคและพระธรรมว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป”

ก็นายพาณิชสองคนนั้นได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้าง ๒ รัตนะเป็นชุดแรกในโลก

ราชายตนกถา จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]



[] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จจากควงไม้ราชายตนะเข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธนั้น และพระองค์เสด็จไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า

ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย

ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย เห็นได้ยาก

แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่จะเห็นได้

ก็ถ้าเราจะพึงแสดง ธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”

อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อน ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคว่าดังนี้

อนัจฉริยคาถา

บัดนี้เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือนิพพาน”

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


พรหมยาจนกถา

[] ครั้งนั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาคด้วยใจของตนแล้ว เกิดความปริวิตกว่า “ชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉิบหายหนอ โลกจักวินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม”

ลำดับนั้นท้าวสหัมบดีพรหมได้หายไปในพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้นแล้วห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า

พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงแสดงธรรม ขอพระสุคตได้โปรดทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี”

ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเป็นประพันธคาถาต่อไปว่า “เมื่อก่อนธรรมไม่บริสุทธิ์อันคนมีมลทินทั้งหลายคิดแล้ว ได้ปรากฏในมคธชนบท ขอพระองค์ได้โปรดทรงเปิดประตูแห่งอมตธรรมนี้ ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หมดมลทิน ตรัสรู้แล้วตามลำดับ เปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขา ซึ่งล้วนแล้วด้วยศิลา พึงเห็นชุมชนได้โดยรอบ ฉันใด

ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาดี มีพระปัญญาจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก จงเสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม แล้วทรงพิจารณาชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก ผู้อันชาติและชราครอบงำแล้ว มีอุปมัยฉันนั้นเถิด

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่ หาหนี้มิได้ ขอพระองค์จงทรงอุตสาหะเที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์รู้ทั่วถึงธรรมจักมี”

(ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า)

[] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลี คือกิเลส ในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี มีอุปมาเหมือน ดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือ ดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำอันน้ำไม่ติดแล้ว

พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่าดังนี้

เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด

ดูกร พรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรมที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์”

ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นแล

พรหมยาจนกถา จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


พุทธปริวิตกกถา

[๑๐] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน” ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่าอาฬารดาบสกาลามโคตร นี้แล เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยเป็นปกติมานาน ถ้ากระไรเราพึงแสดงธรรมแก่อาฬารดาบสกาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน”

ทีนั้นเทพดาอันตรธานมากราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “อาฬารดาบสกาลามโคตร สิ้นชีพได้ ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”

แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงทราบว่าอาฬารดาบสกาลามโคตรสิ้นชีพได้ ๗ วันแล้ว จึงทรงพระดำริว่า “อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นผู้มีความเสื่อมใหญ่ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลัน”

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า “เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน” ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่า อุทกดาบสรามบุตร นี้แลเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยเป็นปกติมานาน ถ้ากระไรเราพึงแสดงธรรมแก่อุทกดาบสรามบุตรก่อน เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน”

ทีนั้นเทพดาอันตรธานมากราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “อุทกดาบสรามบุตรสิ้นชีพเสียวานนี้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”

แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงทราบว่าอุทกดาบสรามบุตรสิ้นชีพเสียวานนี้แล้ว จึงทรงพระดำริว่า “อุทกดาบสรามบุตรนี้เป็นผู้มีความเสื่อมใหญ่ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลัน”

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า “เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน” ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก ได้บำรุงเราผู้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรอยู่ ถ้ากระไรเราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน” ครั้นแล้วได้ทรงพระดำริต่อไปว่า “บัดนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ” พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์

ครั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ อุรุเวลาประเทศตามควรแก่พุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครพาราณสี

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


เรื่องอุปกาชีวก

[๑๑] อาชีวกชื่ออุปกะได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินทางไกลระหว่างแม่น้ำคยาและไม้โพธิพฤกษ์ ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า “ดูกร อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกร อาวุโส ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบธรรมของใคร”

เมื่ออุปกาชีวกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบอุปกาชีวกว่าดังนี้

เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็นไปในภูมิสาม {๓} ได้หมด พ้นแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเราก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดา หาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้ เราผู้เดียว เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ ดับกิเลสได้แล้ว เราจะไปเมืองในแคว้นกาสี เพื่อประกาศธรรมจักรให้เป็นไป เราจะตีกลองประกาศอมตธรรมในโลกอันมืด เพื่อให้สัตว์ได้ธรรมจักษุ”

อุปกาชีวกทูลว่า “ดูกร อาวุโส ท่านปฏิญาณโดยประการใด ท่านควรเป็นผู้ชนะหาที่สุดมิได้โดยประการนั้น”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “บุคคลเหล่าใดถึงความสิ้นอาสวะแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ชนะเช่นเรา ดูกร อุปกะ เราชนะธรรมอันลามกแล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ชนะ”

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวกทูลว่า “เป็นให้พอเถิดพ่อ” ดังนี้แล้ว สั่นศีรษะ ถือเอาทางผิดเดินหลีกไป

เรื่องอุปกาชีวก จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


เรื่องพระปัญจวัคคีย์

[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เสด็จเข้าไปทางสำนักพระปัญจวัคคีย์

พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกันและกันว่า “ท่านทั้งหลาย พระสมณะโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนา ก็จักประทับนั่ง”

ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงพระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย

พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่พระปัญจวัคคีย์จัดถวายแล้ว ทรงล้างพระบาท

ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์เรียกพระผู้มีพระภาคโดยระบุพระนาม และใช้คำว่า อาวุโส

เมื่อพระปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามพระปัญจวัคคีย์ว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยระบุชื่อ และอย่าใช้คำว่า อาวุโส

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไรจักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่”

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า “อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น {คำว่า นั้น ในที่นี้ คงหมายถึงกิริยาของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่บรรลุ ที่ปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงอยู่ ในขณะนั้น} พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษ อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า”

เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไรจักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่”

แม้ครั้งที่สอง พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า “อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า”

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไรจักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่”

แม้ครั้งที่สาม พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า “อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นความรู้ ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า”

เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้ เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้

พระปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า “คำนี้ไม่เคยได้ฟังเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จักแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่”

ลำดับนั้นพระปัญจวัคคีย์ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา

[๑๓] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุข ในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้นเป็นไฉน

ปฏิปทาสายกลางนั้นได้แก่ อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือ

(๑) ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ (สัมมาทิฐิ) {ควรแปลว่า ความเชื่อ หรือ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง}

(๒) ความดำริชอบ ๑ (สัมมาสังกัปปะ) {คิดดี ไม่คิดทางกาม พยาบาท เบียดเบียน}

(๓) เจรจาชอบ ๑ (สัมมาวาจา) {พูดดี ไม่พูดปด ส่อเสียด หยาบ และเพ้อเจ้อ}

(๔) การงานชอบ ๑ (สัมมากัมมันตะ) {การงาน คือ การกระทำ คือ ทำดี นั่นเอง}

(๕) เลี้ยงชีวิตชอบ ๑  (สัมมาอาชีวะ) {ไม่หาเลี้ยงชีวิตโดยผิดศีล ผิดธรรม}

(๖) พยายามชอบ ๑ (สัมมาวายามะ) {มีความเพียรปฏิบัติธรรม}

(๗) ระลึกชอบ ๑ (สัมมาสติ) {อบรมจิต หรือสติ สติสัมปชัญญะ}

(๘) ตั้งจิตชอบ ๑ (สัมมาสมาธิ) {ละนิวรณ์ ๕ อยู่กับฌานขั้นที่ ๑ ถึง ๔}

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

ทุกขอริยสัจ {ทุกข์}

[๑๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขอริยสัจ คือ

ความเกิด ก็เป็นทุกข์

ความแก่ ก็เป็นทุกข์

ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์

ความตาย ก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์

โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”

ทุกขสมุทัยอริยสัจ {เหตุเกิดแห่งทุกข์}

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา”

ทุกขนิโรธอริยสัจ {เหตุดับแห่งทุกข์}

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน”

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ {คือ วิธีดับทุกข์}

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คืออริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือ

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑

ความดำริชอบ ๑

เจรจาชอบ ๑

การงานชอบ ๑

เลี้ยงชีวิตชอบ ๑

พยายามชอบ ๑

ระลึกชอบ ๑

ตั้งจิตชอบ ๑”

[๑๕] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว {นี้เรียกว่า ๓ รอบ}

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว {อีก ๓ รอบ}

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว {อีก ๓ รอบ}

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว{อีก ๓ รอบ รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่า รอบ ๓ อาการ ๑๒}

(ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒)

[๑๖] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป”

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา

{เทวดาทั้งหลายได้บรรลือเสียง กระฉ่อนไปถึงพรหมโลก}

[๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้วก็บันลือเสียงต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้วก็บันลือเสียงต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

เทวดาชั้นยามา ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วก็บันลือเสียงต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

เทวดาชั้นดุสิต ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นยามาแล้วก็บันลือเสียงต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

เทวดาชั้นนิมมานรดี ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นดุสิตแล้วก็บันลือเสียงต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นนิมมานรดีแล้วก็บันลือเสียงต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้วก็บันลือเสียงต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้”

ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล

ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า “ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ”

เพราะเหตุนั้น คำว่าอัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท

[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า “ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” ดังนี้  แล้วตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น

[๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา

ท่านทั้งสองนั้นได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า “ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด” ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสาม {๓} นำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา

ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูป ก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น

วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็น ธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา

ท่านทั้งสองได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า “ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด” ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

[๒๐] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

เวทนาเป็นอนัตตา

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

สัญญาเป็นอนัตตา

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้นสัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้นสังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

วิญญาณเป็นอนัตตา

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย”

 

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา”

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

(ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ)

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็น

อดีต อนาคต และปัจจุบัน

ภายใน หรือภายนอก

หยาบหรือละเอียด

เลวหรือประณีต

ไกลหรือใกล้

ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป

เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

 

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

[๒๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

 

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด

เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น

เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

 

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

อนัตตลักขณสูตร จบ

ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์

ปฐมภาณวาร จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


เรื่องยสกุลบุตร

[๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครพาราณสีมีกุลบุตรชื่อ ยส {อ่านว่า ยะสะ} เป็นบุตรเศรษฐีสุขุมาลชาติ ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน

ยสกุลบุตรนั้นรับบำเรอด้วยพวกดนตรี ไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาทฤดูฝนตลอด ๔ เดือน ไม่ลงมาเบื้องล่างปราสาท

ค่ำวันหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรอิ่มเอิบพร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ได้นอนหลับก่อน ส่วนพวกบริวารชนนอน หลับภายหลัง ประทีปน้ำมันตามสว่างอยู่ตลอดคืน คืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน ได้เห็นบริวารชนของตนกำลังนอนหลับ บางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมีน้ำลายไหล บางนางบ่นละเมอต่างๆ ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจป่าช้าผีดิบ

ครั้นแล้วความเห็นเป็นโทษได้ปรากฏแก่ยสกุลบุตร จิตตั้งอยู่ในความเบื่อหน่าย จึงยสกุลบุตรเปล่งอุทานว่า “ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” แล้วสวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวังใจว่า “ใครๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตรเลย”

ลำดับนั้นยสกุลบุตรเดินตรงไปทางประตูพระนคร พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวังใจว่า “ใครๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร”

ทีนั้นยสกุลบุตรได้เดินตรงไปทางป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน

[๒๖] ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคตื่นบรรทมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้

ขณะนั้นยสกุลบุตรเปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”

ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะยสกุลบุตรว่า “ดูกร ยส ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ”

ที่นั้น ยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่า ได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้ แล้วถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ ทรงทราบว่ายสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เองคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น

(บิดาของยสกุลบุตรตามหา)

[๒๗] ครั้นรุ่งเช้า มารดาของยสกุลบุตรขึ้นไปยังปราสาท ไม่เห็นยสกุลบุตร จึงเข้าไปหาเศรษฐีผู้คหบดีแล้วได้ถามว่า “ท่านคหบดีเจ้าข้า พ่อยสกุลบุตรของท่านหายไปไหน” ฝ่ายเศรษฐีผู้คหบดีส่งทูตขี่ม้าไปตามหาทั้ง ๔ ทิศแล้ว ส่วนตัวเองไปหาทางป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ได้พบรองเท้าทองวางอยู่ ครั้นแล้วจึงตามไปสู่ที่นั้น

พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นเศรษฐีผู้คหบดีมาแต่ไกล ครั้นแล้วทรงพระดำริว่า “ไฉนหนอ เราพึงบันดาลอิทธาภิสังขารให้เศรษฐีคหบดีนั่งอยู่ ณ ที่นี้ ไม่เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้” แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ดังพระพุทธดำริ

ครั้งนั้นเศรษฐีผู้คหบดีได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามว่า “พระผู้มีพระภาค ทรงเห็นยสกุลบุตรบ้างไหม พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกร คหบดี ถ้าอย่างนั้น เชิญนั่ง บางทีท่านนั่งอยู่ ณ ที่นี้ จะพึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้”

ครั้งนั้นเศรษฐีผู้คหบดีร่าเริงบันเทิงใจว่า ได้ยินว่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละจักเห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้ จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เมื่อเศรษฐีผู้คหบดีนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าเศรษฐีผู้คหบดีมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เองคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา” ได้เกิดแก่เศรษฐีผู้คหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น ครั้นเศรษฐีผู้คหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป”

ก็เศรษฐีผู้คหบดีนั้น ได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้างพระรัตนตรัย เป็นคนแรกในโลก

(ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตต์)

[๒๘] คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตร จิตของยสกุลบุตร ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า “เมื่อเราแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตรอยู่ จิตของยสกุลบุตร ผู้พิจารณาเห็นภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกามเหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน ถ้ากระไรเราพึงคลายอิทธาภิสังขารนั้นได้แล้ว”

พระองค์ก็ได้ทรงคลายอิทธาภิสังขารนั้น

เศรษฐีผู้คหบดีได้เห็นยสกุลบุตรนั่งอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกะยสกุลบุตรว่า “พ่อยส มารดาของเจ้าโศกเศร้าคร่ำครวญถึง เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด”

ครั้งนั้นยสกุลบุตรได้ชำเลืองดูพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่เศรษฐีผู้คหบดีว่า “ดูกร คหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วยญาณทัสสนะเพียงเสขภูมิเหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดูกร คหบดี ยสกุลบุตรควรหรือเพื่อจะกลับเป็นคฤหัสถ์ บริโภคกามเหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน”

เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองว่า “ดูกร คหบดี ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วยญาณทัสสนะเพียงเสขภูมิเหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดูกร คหบดี ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกามเหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน”

เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า “การที่จิตของยสกุลบุตรพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นนั้น เป็นลาภของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรได้ดีแล้วพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคมียสกุลบุตรเป็นปัจฉาสมณะ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ

ครั้นเศรษฐีผู้คหบดีทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป

กาลเมื่อเศรษฐีผู้คหบดีกลับไปแล้วไม่นาน ยสกุลบุตรได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด”

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น

สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๗ องค์

ยสบรรพชา จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


มารดาและภรรยาเก่าของพระยสได้ธรรมจักษุ

[๒๙] ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรมีท่านพระยสเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเศรษฐีผู้คหบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย

ลำดับนั้นมารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาแก่นางทั้งสอง คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นางทั้งสองมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เองคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา” ได้เกิดแก่นางทั้งสอง ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ หม่อมฉันทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่าเป็นอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป”

ก็มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสได้เป็นอุบาสิกากล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นชุดแรกในโลก

ครั้งนั้นมารดา บิดา และภรรยาเก่าของท่านพระยสได้อังคาสพระผู้มีพระภาคและท่านพระยสด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนๆ จนให้ห้ามภัต ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้มารดา บิดา และภรรยาเก่าของท่านพระยส เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะกลับไป

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของพระยสออกบรรพชา

[๓๐] สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยสคือ วิมลสุพาหุปุณณชิควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบๆมาในพระนครพาราณสี ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ครั้นทราบดังนั้นแล้ว ได้ดำริว่า “ธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสกุลบุตรปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้นคงไม่ต่ำทรามแน่นอน” ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

จึงท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๔ นั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของข้าพระองค์ ๔ คนนี้ ชื่อ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบๆมาในพระนครพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้าพระองค์เหล่านี้”

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เองคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา” ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดีฉะนั้น พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น

ต่อมาพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

สมัยนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๑๑ องค์

สหายคฤหัสถ์ ๔ คน ของพระยสออกบรรพชา จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คนของพระยสออกบรรพชา

[๓๑] สหายคฤหัสถ์ของท่านพระยส เป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คน เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆกันมา ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ครั้นทราบดังนั้นแล้วได้ดำริว่า “ธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน” ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

จึงท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์จำนวน ๕๐ คนนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของข้าพระองค์เหล่านี้เป็นชาวชนบท เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆกันมา ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้าพระองค์เหล่านี้”

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เองคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา” ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น

พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น

ต่อมาพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้น ด้วยธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์

สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน ของพระยสออกบรรพชา จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


เรื่องพ้นจากบ่วง

[๓๒] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้ว จากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์

พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์

สัตว์ทั้งหลาย จำพวกที่มีธุลีคือกิเลศ ในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม”

เรื่องพ้นจากบ่วง จบ

[ไปบนสุด][ไปล่างสุด]


เรื่องมาร

[๓๓] ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า “ท่านเป็นผู้อันบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ผูกพันไว้แล้ว ท่านเป็นผู้อันเครื่องผูกใหญ่รัดรึงแล้ว แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกใหญ่ ดูกร มาร ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว”

มารกราบทูลว่า “บ่วงนี้เที่ยวไปได้ในอากาศ เป็นของมีในจิต สัญจรอยู่ เราจักผูกรัดท่านด้วยบ่วงนั้น แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูกร มาร ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว”

ครั้งนั้นมารผู้มีใจบาปรู้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา” ดังนี้แล้ว มีทุกข์ เสียใจ หายไปในที่นั้นเอง

เรื่องมาร จบ

[ไปบนสุด]